พันธะโคเวเลนต์
พันธะโคเวเลนต์
คือพันธะที่เกิดจากอะตอมคู่หนึ่งใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน
โดยเกิดแรงดึงดูดระหว่างอิเล็กตรอนกับโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมทั้งสอง
ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ มี 3 ชนิด
1.พันธะเดี่ยว เกิดจากอะตอมใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกัน
1 คู่
2.พันธะเดี่ยว เกิดจากอะตอมใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกัน
2 คู่
3.พันธะเดี่ยว เกิดจากอะตอมใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกัน
3 คู่
การเขียนสูตรและการเรียกชื่อสารโคเวเลนต์
1. สูตรโมเลกุล
โดยทั่วไปเขียนสัญลักษณ์ของธาตุที่เป็นองค์ประกอบเรียงตามลำดับของธาตุ
และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี แล้วระบุจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของโมเลกุล
2. สูตรโครงสร้าง
คือสูตรที่แสดงให้ทราบว่า 1 โมเลกุลของสารประกอบด้วยธาตุใดบ้าง อย่างละกี่อะตอม
และอะตอมของธาตุเหล่านั้นมีการจัดเรียงตัวหรือเกาะเกี่ยวกันด้วยพันธะอย่างไร
ซึ่งแบบเป็น 2 แบบคือ
- สูตรโครงสร้างแบบจุด
คือสูตรโครงสร้างที่แสดงถึงการจัดอิเล็กตรอนวงนอกสุดให้ครบออกเตต
ในสารประกอบนั้น โดยใช้จุด ( . ) แทนอิเล็กตรอน 1 ตัว
- สูตรโครงสร้างแบบเส้น
คือสูตรโครงสร้างที่แสดงถึงพันธะเคมีในสารประกอบนั้นว่าพันธะใดบ้าง
โดยใช้เส้น ( - ) แทนพันธะเคมี เส้น 1 เส้น
แทนอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน 1 คู่
การอ่านชื่อสารโคเวเลนต์ มีวิธีการอ่านดังนี้
1. อ่านจำนวนอะตอมพร้อมชื่อธาตุแรก
(ในกรณีธาตุแรกมีอะตอมเดียวไม่ต้องอ่านจำนวน )
2. อ่านจำนวนอะตอม
และชื่อธาตุที่สอง ลงท้ายเป็น ไ-ด์ (ide
)
เลขจำนวนอะตอมอ่านเป็นภาษากรีก คือ
1 = mono 2 = di 3 = tri 4 = tetra
5 = penta 6 = hexa 7 = hepta 8 = octa
9 = nona 10 = deca 11 = undec 12 = dodec
ตัวอย่าง
NO2 อ่านว่า ไนโตรเจนไดออกไซด์ Cl2O อ่านว่า
ไดคลอรีนโมโนออกไซด์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น